เอกลักษณ์ทางเพศผิดปกติ views : 7691
    ธรรมชาติได้รังสรรค์เพศหญิงให้เกิดมาเพื่อคู่กับเพศชายได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว แต่ในสมันใหม่นี้คงไม่แปลกอะไรที่เราจะเห็นเพศชายขอเลือกทางเดินของตัวเองด้วยการหันไปเดินควงกับผู้ชายด้วยกันอย่างออกหน้าออกตาหรือก็ไม่น่าสงสัยอะไรเช่นที่ผู้หญิงก็จะขอเลือกเส้นทางของตนเองด้วยการเดินควงกับผู้หญิงด้วยกันบ้าง


ปัจจุบันเพศที่ 3 หรือกลุ่มที่ถูกเรียกว่าเบี่ยงเบนทางเพศนั้น ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของทุกสังคม และทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแวดวงต่าง ๆ ไม่เพียงแต่เฉพาะในวงบันเทิงเหมือนเมื่อก่อนเท่านั้น ทำให้หลาย ๆ ครั้ง หลายหน่วยงานได้ออกมาต่อต้านการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มเพศที่ 3 เพราะเกรงว่าเยาวชนจะเห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่น่าทำตามและเลียนแบบ และหลายครั้งที่กลุ่มเพศที่ 3 ถูกมองจากสังคมรอบข้างว่ามีความผิดปกติ และถูกมองด้วยสายตาที่เต็มไปด้วยเครื่องหมายคำถามมากมาย วันนี้ลองมาทำความเข้าใจกับบุคคลกลุ่มนี้ว่าความรู้สึกที่แปลกแยกไปจากเพศที่ตนเองเป็นอยู่นั้นเกิดขึ้นมาจากอะไร แก้ไขได้หรือไม่ และพวกเขาจะอยู่ในสังคมให้มีความสุขได้อย่างไรเพื่อให้คนในครอบครัวและคนรอบข้างได้ทำความเข้าใจและยอมรับกับกลุ่มเพศที่ 3 ได้มากขึ้น
star story
? เอกลักษณ์ทางเพศผิดปกติ

แพทย์หญิงสุพร อภินันทเวช จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาอนามัยและครอบครัว คณะสาธารณะสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่าการที่เด็กเติบโตขึ้น หรือถูกเลี้ยงดูมาไม่ตรงกับเพศของตนเอง ทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความประพฤติหรือแสดงออกในสิ่งที่ตรงข้ามกับเพศตัวเอง ซึ่งภาษาอังกฤษในทางจิตวิทยานั้นใช้ว่า Gender Identity Disorder ซึ่งหมายความถึงความมีเอกลักษณ์ทางเพศที่ผิดปกตินั่นเอง


ส่วนคำว่า พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ แพทย์หญิงสุพร บอกว่าหมายถึงความผิดปกติในเรื่องเพศ เช่น พวกที่ชอบแอบดูผู้หญิงอาบน้ำ พวกชอบโชว์อวัยวะเพศ หรือสมสู่กับสัตว์ แต่คนส่วนใหญ่นั้นมักจะนำมาใช้ผิดความหมาย แต่ในปัจจุบันก็นำคำว่าพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศมาใช้กับความมีเอกลักษณ์ทางเพศที่ผิดปกติจนกลายเป็นความเคยชินกันแล้ว



? สาเหตุของเอกลักษณ์ทางผิดปกติ เกิดได้หลายสาเหตุด้วยกัน คือ

1. พันธุกรรม เช่น ถ้ามีบุคคลในครอบครัวมีเอกลักษณ์ทางเพศที่ผิดปกติ แพทย์หญิงสุพร บอกว่า คนในครอบครัวนั้นก็อาจจะมีแนวโน้มที่จะมียีนบางตัวที่ก่อให้เกิดเอกลักษณ์ทางเพศผิดปกติ สืบทอดต่อมา หรืออาจจะเกิดจากโรคบางชนิดก็ได้ เช่น โรคเปลือกต่อมหมวกไตใหญ่ผิดปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนเพศชายออกมามากกว่าปกติ

ซึ่งถ้าเด็กผู้หญิงบางคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ก็จะทำให้มีลักษณะเหมือนเด็กผู้ชาย หรืออาจจะเกิดที่อวัยวะต่าง ๆ เมื่ออยู่ในครรภ์มารดาผลิตฮอร์โมนผิดปกติ จึงกลายเป็นความผิดปกติทางฮอร์โมนเพศขึ้น และทำให้เมื่อคลอดออกมาเด็กจะมีอวัยวะบางอย่างที่ผิดปกติไปจากเพศที่เขาควรเป็น ในบางรายก็จะเป็นลักษณะของอวัยวะที่กำกวม ทำให้มองไม่ออกว่าอวัยวะเพศเป็นชายหรือหญิง เมื่อเด็กเติบโตขึ้นมาจึงไม่รู้ว่าควรจะเลี้ยงแบบเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิงดี


2. การเลี้ยงดู ในทางจิตเวชให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะการเลี้ยงดูมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อเพศของเด็ก ซึ่งการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมกับเพศของเด็กก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ เช่น เด็กผู้ชายที่มีรูปร่างหน้าตาน่ารักก็มักจะถูกเลี้ยงดูแบบนุ่มนวล หรือมีคนในครอบครัวคอยโอ๋อยู่ตลอดเวลา ก็อาจจะมีแนวโน้มที่จะถูกทำให้มีบุคลิกคล้ายผู้หญิงได้ง่ายหรือครอบครัวที่มีปัญหาอยากได้ลูกผู้หญิงแต่กลับได้ลูกผู้ชาย ก็อาจจะเลี้ยงลูกผู้ชายให้มีลักษณะของเด็กผู้หญิงเป็นต้น


3. สังคมหรือวัฒนธรรมบางอย่าง ดังที่แพทย์หญิงสุพรยกตัวอย่างให้ฟังว่า ในบางกรณีมีผู้ใหญ่บางคนที่เห็นว่าเด็กมีความสามารถบางอย่างที่ตรงข้ามกับเพศของตัวเอง เช่น เด็กผู้ชายที่เต้นเก่ง หรือชอบรำตั้งแต่เล็ก ๆ มักจะถูกสนับสนุนให้ทำกิจกรรมเหล่านั้นโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ จนในที่สุดก็กลายเป็นว่าเด็กผู้ชายคนนั้นชอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นของผู้หญิงทั้งหมด ซึ่งอันนี้ก็มีส่วนทำให้เกิดเอกลักษณ์ทางเพศที่ผิดปกติได้
? วิธีการป้องกัน

เมื่อเราทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์ทางเพศที่ผิดปกติก็ควรต้องเริ่มป้องกันจากสาเหตุก่อนเป็นอันดับแรก เช่น ครอบครัวไหนที่มีเรื่องของพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น อาจจะมีญาติทางฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่เป็นสาวประเภทสองทั้งหมด ก็อาจจะคาดเดาได้ว่าเด็กคนไหนที่มีความเสี่ยงต่อการมีเอกลักษณ์ทางเพศที่ผิดปกติ


แพทย์หญิงสุพร ให้คำแนะนำว่า ครอบครัวนั้นควรต้องเอาใจใส่เด็กให้มากตั้งแต่วัย 3?6 ขวบ เพราะเป็นวัยที่สำคัญ เด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในช่วงนี้ ดังนั้นกลุ่มไหนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจะต้องหันมาเลี้ยงดูลูกให้ดี ที่สำคัญต้องเลี้ยงให้เหมาะสมกับเพศของเขา เช่น ถ้าเป็นเด็กผู้ชายก็ต้องเลี้ยงให้เขามีการแสดงออกหรือแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศชาย ถ้าเด็กผู้ชายชอบเล่นตุ๊กตาก็ต้องพยายามปรับพฤติกรรมไม่ให้เล่นของเล่นของผู้หญิงหรือตุ๊กตา ให้คุณพ่อคุณแม่ทำใจแข็งไม่ซื้อให้ หรือเด็กผู้หญิงที่มีพี่น้องทั้งหมดเป็นเด็กผู้ชายก็มักจะเล่นแบบเด็กผู้ชายมีแนวโน้มที่จะออกห้าว ๆ ก็ต้องป้องกันด้วยการเลี้ยงให้แตกต่างจากพี่ชายด้วยการหากิจกรรมที่เป็นผู้หญิงให้เขาทำ เป็นต้น

ส่วนในกรณีของโรคต่าง ๆ เช่น ต่อมหมวกไต เมื่อพบสาเหตุก็ต้องรับรักษาตั้งแต่เล็ก ๆ ซึ่งเพทย์อาจจะให้ทำการผ่าตัดหรือให้ฮอร์โมนซึ่งเป็นการป้องกันอีกวิธีหนึ่ง


? อยู่อย่างไรให้มีความสุข

ถ้าป้องกันก็แล้วพยายามเลี้ยงดูให้เด็กมีพฤติกรรมที่ตรงกับเพศก็แล้วแต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเอกลักษณ์ทางเพศที่ผิดปกติได้ขั้นตอนสุดท้ายก็คือต้องพยายามทำให้คนนั้นอยู่กับสิ่งที่เขาเป็นอย่างมีความสุขที่สุด


สำหรับปัญหาที่พบส่วนใหญ่ แพทย์หญิงสุพร บอกว่า คนที่มีเอกลักษณ์ทางเพศผิดปกติจะมีความทุกข์กับสิ่งที่ตัวเองมี เช่น ต้องการมีอีกเพศหนึ่งที่ตรงข้ามกับเพศปัจจุบัน หรืออาจจะรู้สึกไม่ดีเมื่อมีคนจ้องมองมา เพราะฉะนั้นความทุกข์ก็จะเกิดกับเขา แต่ถ้าคนไหนที่มาสามารถแสดงออกในสิ่งที่เขาเป็นได้ เขาจะอยู่อย่างมีความสุข เพราะเขาสามารถปรับตัวได้ในสังคม แต่สำหรับคนที่ปรับตัวหรือยอมรับสายตาของคนในสังคมไม่ได้ และรู้สึกอึดอัด แพทย์หญิงสุพร บอกว่า ถ้าบุคคลเหล่านี้มาพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษา ก็จะต้องมีการทำพฤติกรรมบำบัดหรือจิตบำบัด คือ การนั่งคุยกันกับจิตแพทย์เพื่อปรับความคิดหรือความรู้สึกว่าเขาควรทำอย่างไรหรือจะอยู่อย่างไรให้ตนเองมีความสุข โดยที่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน


นอกจากนั้นเรื่องที่ควรระมัดระวังอีกอย่างหนึ่งของกลุ่มที่มีเอกลักษณ์ทางเพศที่ผิดปกติ คือ เรื่องของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องรู้ว่าป้องกันตนเองอย่างไร และจะดูแลตนเองอย่างไรให้ปลอดภัย รวมทั้งเรื่องของความรู้สึกด้วย ซึ่งกลุ่มนี้มักจะมีอารมณ์ที่อ่อนไหวกว่าคนที่มีเอกลักษณ์ทางเพศปกติ จึงควรระมัดระวังหรือควบคุมอารมณ์ตนเอง หรือว่าแสดงออกในเรื่องของอารมณ์อย่างถูกวิธีเพื่อให้มีความสุขกับสิ่งที่เป็นอยู่ให้มากที่สุดและไม่ส่งผลกระทบกับบุคคลรอบข้าง


แต่สำหรับผู้ชายบางคนที่มีความผิดปกติแต่ไม่สามารถยอมรับตนเองได้และเพื่อที่จะได้เป็นเหมือนกับผู้ชายแท้จึงต้องยอมมีครอบครัว มีแฟนเป็นตัวเป็นตน ในขณะเดียวกันก็แอบไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วย เพราะส่วนหนึ่งพวกเขายังมาสามารถยอมรับตัวตนของตนเองได้


แพทย์หญิงสุพร ให้ความคิดเห็นว่า ? ถ้ากลุ่มนี้ได้ไปพบจิตแพทย์ก็จะช่วยได้เยอะ เพราะเขาเองก็ไม่ต้องทนทุกข์ และไม่ต้องทำให้ผู้หญิงที่เขาแต่งงานด้วยต้องทนทุกข์ ซึ่งเขาจะสามารถยอมรับการมีแฟนที่เป็นผู้ชายได้ โดยที่อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม และในตอนนี้สังคมไทยก็เริ่มยอมรับมากขึ้นแล้วด้วย ?

ไม่ว่าจะเป็นเพศที่ 1 เพศที่ 2 หรือกระทั่งเพศที่ 3 ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพลังสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้ก้าวหน้าต่อไปได้ เพราะคงไม่มีใครที่ปฏิเสธว่า ในหลายวงการเพศที่ 3 ก็มีความสามารถไม่เป็นรองใครไม่ใช่หรือคะ?


ที่มา : โพสต์ทูเดย์
author :  โพสต์ทูเดย์ ดู hotIssue ทั้งหมด
*** กรุณา Login ก่อนจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้นะจ๊ะ ***